Skip to main content

โลกุต​ตร​กุศล

มรรคดวงจิตที่​ ๑
[๑๙๖] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ประกอบด้วย
วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก
อยู่ในสมัยใด
[๑๙๗-๒๐๑] กด​ ​👉 ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต
[๒๐๒-๒๐๖] กด​ ​👉 วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
[๒๐๗-๒๑๕] กด​ ​👉 สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์
สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
มนินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อนัญญตัญญัส​สามีตินทรีย์
[๒๑๖-๒๒๓] กด​ ​👉 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ​
สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
[๒๒๔-๒๓๐] กด​ ​👉 สัทธาพละ วิริยพละ
สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ​
หิริพละ โอตตัปปพละ
[๒๓๑-๒๓๓] กด​ ​👉 อโลภะ อโทสะ อโมหะ
[๒๓๔-๒๓๘] กด​ ​👉 อนภิชฌา อัพยาปาทะ
สัมมาทิฏฐิ หิริ​ โอตตัปปะ
[๒๓๙-๒๕๐] กด​ ​👉 กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา
กายุชุกตา จิตตุชุกตา
[๒๕๑-๒๕๖] กด​ ​👉 สติ​ สัมปชัญญะ สมถะ
วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัย
เกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล

[๒๕๗] หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๒๕๘] ก็ขันธ์​ ๔​ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒
อาหาร ๓ อินทรีย์ ๙ ฌานมีองค์ ๕ มรรคมีองค์​ ​๘
พละ​ ๗​ เหตุ​ ๓​
ผัสสะ ๑ เวทนา ๑ สัญญา ๑ เจตนา ๑ จิต ๑
เวทนาขันธ์ ๑​ สัญญาขันธ์ ๑ สังขารขันธ์ ๑ วิญญาณขันธ์ ๑ มนายตนะ ๑ มนินทรีย์ ๑
มโนวิญญาณธาตุ ๑ ธัมมายตนะ ๑ ธรรมธาตุ ๑
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรม
ที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล.
[๒๕๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา
สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์
อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์
สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ​ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ
ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริโอตตัปปะ
กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา​ จิตตหุตา
กายมุทุตา จิตตมุทุตา
กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกต
สติ สัมปชัญญะ
สมถะ วิปัสสนา
ปัคคาหะ อวิกเขปะ
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
เว้นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์
มีอยู่ในสมัยนั้น
นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล. ------------------
[๒๖๐-๒๖๙]​ กด​ ​👉 มหานัย​ ๒๐
            มหานัย​ ๒๐​     
                สุทธิ​กปฏิปทา​                   
                สูญญตะ​                        ​ 
                สูญ​ญตมูลกปฏิปทา​        
                อัปปณิหิตะ​                   ​ ​
                อัปปนิหิตมูลกปฏิปทา​     ​ 

            มหานัย​ ๒๐​ จบ 
                          
อธิบดี
[๒๗๐] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ
เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น
บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
บรรลุปัญจมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ
เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด
ผัสสะ ฯลฯ​ อวิกเขปะ ฯลฯ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญมรรคเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสติปัฏฐานเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัมมัปปธานเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญอิทธิบาทเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญอินทรีย์เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญพละเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญโพชฌงค์เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญสัจจะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญสมถะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญธรรมเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญขันธ์เป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญอายตนะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญธาตุเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญอาหารเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญผัสสะเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญเวทนาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ เจริญสัญญาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญเจตนาเป็นโลกุตตระ ฯลฯ
เจริญจิตเป็นโลกุตตระ ฯลฯ อันเป็นเครื่องออกไปจากโลกนำไปสู่นิพพาน
เพื่อละทิฏฐิ เพื่อบรรลุภูมิเบื้องต้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นฉันทาธิบดี ฯลฯ
เป็นวิริยาธิบดี ฯลฯ​ เป็นจิตตาธิบดี ฯลฯ
เป็นวิมังสาธิบดี เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ อธิบดี จบ มรรคจิตดวงที่ ๑ จบ ------------ มรรคจิตดวงที่ ๒ [๒๗๑] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน? โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๒
เพื่อบรรเทากามราคะและพยาบาทให้เบาบางลง
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล ธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ
อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ มรรคจิตดวงที่ ๒ จบ ------------ มรรคจิตดวงที่ ๓ [๒๗๒] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๓
เพื่อละกามราคะและพยาบาทไม่ให้มีเหลือ
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม​ ทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ
มีอยู่ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ มรรคจิตดวงที่ ๓ จบ ------------ มรรคจิตดวงที่ ๔ [๒๗๓] ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน?
โยคาวจรบุคคล เจริญฌานเป็นโลกุตตระ
อันเป็นเครื่องออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุภูมิที่ ๔
เพื่อละรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ
และอวิชชา ไม่ให้มีเหลือ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ฯลฯ อัญญินทรีย์ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล ฯลฯ
[๒๗๔] อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ
ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ปัญญาเหมือนศาตรา
ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างเหมือนปัญญา
ความสว่างคือปัญญา แสงสว่างคือปัญญา
ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว
ความไม่หลง​ ความวิจัยธรรม
สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค เพื่อรู้ธรรมที่รู้แล้ว เพื่อเห็นธรรมที่เห็นแล้ว
เพื่อบรรลุธรรมที่บรรลุแล้ว เพื่อทราบธรรมที่ทราบแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ทำให้แจ้งแล้ว
ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า อัญญินทรีย์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ
นี้ชื่อว่า อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น
หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด
มีอยู่ในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธรรมเป็นกุศล มรรคจิตดวงที่ ๔ จบ. โลกุตตรกุศลจิต จบ. -------------