[๒๒๔] สัทธาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ
ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ กำลังคือความเพียร
สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.
[๒๒๖] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก
สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม
สติ สตินทรีย์
กำลังคือสติ ความระลึกชอบ
สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๗] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต
ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์
กำลังคือสมาธิ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๘] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ
ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
มีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๙] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริต
อันเป็นสิ่งที่น่าละอาย
กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น.
[๒๓๐] โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต
อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว
กิริยาที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.
ศรัทธา กิริยาที่เชื่อ กิริยาที่ปลงใจเชื่อ
ความเลื่อมใสยิ่ง ศรัทธา สัทธินทรีย์
กำลังคือศรัทธา ในสมัยนั้น อันใด
นี้ชื่อว่า สัทธาพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๕] วิริยพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย
ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ
ความประคับประคองธุระ วิริยะ
วิริยินทรีย์ กำลังคือความเพียร
สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า วิริยพละ มีในสมัยนั้น.
[๒๒๖] สติพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
สติ ความตามระลึก ความหวนระลึก
สติ กิริยาที่ระลึก ความทรงจำ
ความไม่เลื่อนลอย ความไม่ลืม
สติ สตินทรีย์
กำลังคือสติ ความระลึกชอบ
สติสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สติพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๗] สมาธิพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต
ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์
กำลังคือสมาธิ
สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สมาธิพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๘] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความกำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ
ภาวะที่รู้ ภาวะที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด
ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเป็นเครื่องทำลายกิเลส
ปัญญาเป็นเครื่องนำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป
ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์
อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค
มีในสมัยนั้นอันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น. [๒๒๙] หิริพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่ละอายต่อการประพฤติทุจริต
อันเป็นสิ่งที่น่าละอาย
กิริยาที่ละอายต่อการประกอบ
อกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า หิริพละ มีในสมัยนั้น.
[๒๓๐] โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? กิริยาที่เกรงกลัวต่อการประพฤติทุจริต
อันเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว
กิริยาที่ไม่ประกอบอกุศลบาปธรรมทั้งหลาย
ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า โอตตัปปพละ มีในสมัยนั้น.